สถิติ
เปิดเมื่อ8/10/2019
อัพเดท19/02/2020
ผู้เข้าชม933
แสดงหน้า1123
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




(เข้าชม 111 ครั้ง)

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำและถังความดัน

หม้อน้ำ เป็นเครื่องกำเนิดไอน้ำหรือน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิและความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ ภายในภาชนะปิดสนิท โดยไอน้ำเกิดจากน้ำที่ได้รับการถ่ายเทความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจนกระทั่งกลายเป็นไอ สามารถนำไอไปใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ได้แก่ โรงไฟฟ้า โรงน้ำตาล โรงผลิตอาหารกระป๋อง โรงพยาบาล โรงสีข้าว โรงแรม เป็นต้น


1.Boilers

  In its simplest definition, a boiler is a vessel in which water is heated by combustion of fuel to from steam, hot water, or high temperature water  ( HTW) under pressure.

1.  กฎหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ำ

   1.1 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
สาระสำคัญ ใช้แทน พระราชบัญญัติ เดิม 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2512, ฉบับที่2               พ.ศ. 2518 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522) เพื่อใช้ควบคุมการประกอบกิจการโรงงานโดยรวม

   1.2  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) เรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน
ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ประกาศ  ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2528
แบ่งออกเป็น 7 ข้อ มีสาระสำคัญคือ :
* ข้อกำหนดเฉพาะหม้อไอน้ำต้องติดตั้งอุปกรณ์สำคัญพื้นฐาน
*  ต้องมีการทดสอบหม้อไอน้ำอย่างน้อยปีละครั้ง
*  หม้อไอน้ำที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 20 ตันต่อชั่วโมง จะต้องมีวิศวกรเครื่องกลควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ (หากน้อยกว่า 20 ตันต่อชั่วโมง ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำประจำ  จะต้องเป็น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างกลโรงงาน หรือช่างยนต์ หรือผู้ชำนาญงาน ที่ผ่านการอบรมจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถาบันอื่นที่รับรอง)

1.3  ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2528 ว่าด้วยเรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลว เป็นสื่อนำความร้อนวิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลว เป็นสื่อนำความร้อน และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลว เป็นสื่อนำความร้อน และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน กระทรวงอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 8 ข้อ มีสาระสำคัญคือ :
*   การวางระเบียบและวิธีการขึ้นทะเบียน เป็นวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ
ผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ
*  คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียน วิธีการขึ้นทะเบียนและหน้าที่รับผิดชอบฯลฯ

1.4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2534 แบ่งออกเป็น 6 หมวด ประกอบด้วย
หมวด 1  ข้อกำหนดทั่วไป
หมวด 2  การติดตั้งหม้อน้ำและอุปกรณ์
หมวด 3  คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อน้ำ
หมวด 4  การควบคุม
หมวด 5  การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมวด 6  เบ็ดเตล็ด
มีสาระสำคัญคือ : กล่าวถึงมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเช่น ISO, ASME, JIS, DIN, BS และอื่นๆและข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

2.  นิยาม
2.1  ไอน้ำหรือสตีม (Steam) หมายถึง ไอน้ำที่ได้จากการต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ การต้มน้ำในภาชนะเปิดที่อุณหภูมิ 212 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 100 องศาเซลเซียส น้ำจึงกลายเป็นไอ แต่ถ้าเป็นการต้มน้ำในภาชนะปิด ไอน้ำที่เกิดขึ้นไม่มีทางออก อัดตัวกันเกิดเป็นความดันขึ้น ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของไอน้ำสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการทราบว่าไอน้ำ มีอุณหภูมิเท่าใด ก็สามารถดูได้จากตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันไอน้ำอิ่มตัวกับอุณหภูมิ ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันไอน้ำอิ่มตัวกับอุณหภูมิ
 

ความดันไอน้ำอ่านจากมาตรวัด
(ปอนด์/ตารางนิ้ว)
อุณหภูมิไอน้ำ
(องศาฟาเรนไฮต์ : ºF) (องศาเซลเซียส : ºc)
0
10
20
40
60
80
100
120
140
160
180
200
250
300
212
240
259
287
307
324
338
350
359
368
379
388
406
422
100
115
126
141
152
162
170
176
181
186
192
197
207
216



2.2  ไอดงหรือไอแห้ง หรือซุบเปอร์ฮีทสตีม (Superheat steam) หมายถึง ไอน้ำที่ไม่มีละอองน้ำปะปน ได้จากการเพิ่มความร้อนให้กับไอน้ำอิ่มตัว ทำให้ละอองน้ำที่ผสมอยู่ในไอน้ำอิ่มตัว กลายเป็นไอทั้งหมด ไอน้ำที่ได้นี้เรียกว่า “ไอดง” มีอุณหภูมิสูงกว่าเดิม แต่ความดันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
2.3  ไอน้ำอิ่มตัว (Saturated Steam) หมายถึง ไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำ ที่มีความดันนั้นๆ
2.4  ความดัน (Pressure) หมายถึง แรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ สสารทุกอย่างถ้าถูกอัดแน่นด้วยแรงดันเท่ากันจะมีความดันเท่ากันด้วย ความดันที่อ่านจากมาตรวัดความดัน (Pressure gauge) มีหน่วยที่ใช้ตามมาตราต่างๆ ดังนี้

มาตราอังกฤษ  เรียกเป็น  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (Psi or lb/in2)
มาตราเมตริก  เรียกเป็น  กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (Ksc or Kg/cm2)
มาตราเยอรมัน  เรียกเป็น  ปาสคาล (Pa)
มาตรา SI     เรียกเป็น  นิวตันต่อตารางเมตร (N/m2)
มาตรา ISO  เรียกเป็น  บาร์ (Bar) และ บรรยากาศ (atm)
การเปรียบเทียบความดันระหว่างหน่วยวัดตามมาตราต่างๆ
1  บรรยากาศ      =   14.696     ปอนด์ / ตารางนิ้ว       =    101.32    กิโลปาสคาล
1  กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร=    14.223    ปอนด์ / ตารางนิ้ว
1  บาร์  =    14.504    ปอนด์ / ตารางนิ้ว
1  ปอนด์ / ตารางนิ้ว  =   6,894.76  นิวตัน / ตารางเมตร

2.5  พิกัดหม้อน้ำ (Boiler rating) หมายถึง ปริมาณไอน้ำที่หม้อน้ำสามารถผลิตได้ต่อหนึ่งหน่วยเวลา หรือคิดเป็นอัตราความร้อนที่น้ำได้รับความร้อนจากหม้อน้ำต่อหนึ่งหน่วยเวลา หน่วยวัดที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 หน่วย คือ

2.5.1  ตัน / ชั่วโมง (T/h) หรือเรียกสั้นๆว่า “ตัน” หมายถึง ปริมาณความร้อนที่สามารถทำให้น้ำ จำนวน 1 ตัน (1,000 ลิตร) ที่อุณหภูมิ 100๐C ระเหยกลายเป็นไอน้ำที่อุณหภูมิ 100๐C ได้หมดภายในเวลา 1 ชั่วโมง
2.5.2  แรงม้าหม้อน้ำ (Boiler Horse Power) ซึ่งตาม ASME CODE กำหนดไว้ดังนี้ 
         แรงม้าหม้อไอน้ำ หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำจำนวน 34.5 ปอนด์ ที่อุณหภูมิ 212๐F ระเหยกลายเป็นไอน้ำอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 212๐F ได้หมดภายในเวลา 1 ชั่วโมง
ความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดหน่วยวัดต่างๆ พอสรุปได้คือ.
  1 T/h  =   2,256,700  KJ
  1 แรงม้าหม้อน้ำ     =   33,475.35  BTU
  1 T/h  =    65  boiler horse power
  1 แรงม้าหม้อน้ำ                 =    13  horse power (power)
                 =    10  ft2 (heating surface)

2.5.3  ประสิทธิภาพหม้อน้ำ  หมายถึง อัตราส่วนจำนวนความร้อนที่ได้รับจากการถ่ายเทความร้อนของน้ำภายในหม้อน้ำต่อพลังงานความร้อนที่จ่ายเข้าไป ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

3.  ส่วนประกอบ  ประเภท  และลักษณะของหม้อน้ำ
    3.1  ส่วนประกอบของหม้อน้ำ  หม้อน้ำทุกชนิดถึงแม้ว่าจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน แต่จะมีส่วนประกอบหลักที่เหมือนกันอยู่ 3 ส่วน (ดังรูปที่ 1)





3.1.1  เตาหรือห้องเผาไหม้ (Furnace) หมายถึง ส่วนที่ใช้เป็นที่เผาไหม้เชื้อเพลิง   
         เพื่อให้เกิดความร้อนไปทำให้น้ำในหม้อน้ำระเหยกลายเป็นไอ จึงเป็นส่วนที่มี 
         อุณหภูมิสูงสุดของหม้อน้ำ เชื้อเพลิงที่ใช้อาจจะอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือ
         ก๊าซ เช่น ถ่านหิน แกลบ กากชานอ้อยเชื้อ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ 
3.1.2  ส่วนเก็บน้ำ (Water Space) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ภายในหม้อน้ำ
           ระดับน้ำภายในหม้อน้ำไม่ควรจะแตกต่างกันมากกว่า ¾ นิ้ว โดยเฉพาะหม้อน้ำ
           แบบท่อไฟ กรณี ที่หม้อน้ำ 2 เครื่อง มีขนาดเท่ากัน หม้อน้ำที่มีส่วนเก็บน้ำได้
           น้อยจะสามารถผลิตไอน้ำได้เร็วกว่า จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้ไอน้ำ
           ช่วงเวลาสั้นๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง เพราะน้ำที่ 
           เก็บมีปริมาณน้อย โอกาสที่น้ำแห้งจึงมีมาก

3.1.3   ส่วนเก็บไอน้ำ(Steam Space) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เก็บ     ไอน้ำ ปกติจะอยู่เหนือส่วนที่เก็บน้ำ ไอน้ำที่หม้อน้ำผลิตได้  จะถูกเก็บสะสมในส่วนที่เก็บไอน้ำ โดยทั่วไปหม้อน้ำจะผลิตไอน้ำตลอดเวลา แต่การนำไอน้ำไปใช้ไม่แน่นอน  ดังนั้น เมื่ออัตราการนำไอน้ำไปน้อยกว่าอัตราการผลิต ไอน้ำของหม้อน้ำส่วนที่เหลือก็จะถูกเก็บไว้ในส่วนเก็บไอน้ำภายในหม้อน้ำ ขนาดของส่วนเก็บไอน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการออกแบบหม้อน้ำ แต่หม้อน้ำที่ใช้คนควบคุมระดับน้ำในหม้อน้ำ ผู้ควบคุมหม้อน้ำจะมีความสำคัญที่รักษาส่วนเก็บไอน้ำให้มากหรือน้อยได้ โดยการควบคุมปริมาณน้ำที่ส่งเข้าหม้อน้ำเป็นหลักของหม้อน้ำที่ใช้งาน     หม้อน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบตามขนาดและวัตถุประสงค์การใช้งาน การแบ่งประเภทของหม้อน้ำ  อาจแบ่งได้โดยยึดหลัก ดังนี้

1. ตามลักษณะการวางแนวแกนของเปลือกหม้อน้ำ
2. ตามลักษณะการใช้งาน
3. ตามตำแหน่งเตา
4. ตามน้ำหรือก๊าซร้อนที่อยู่ในท่อ
5. หม้อน้ำที่สร้างขึ้นพิเศษ

3.2 ประเภทหม้อไอน้ำ การแบ่งหม้อน้ำเพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียได้เหมาะสม นิยมแบ่งตามลักษณะการแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ หม้อน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler) และหม้อน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube  boiler)


3.2.1  หม้อน้ำแบบท่อไฟ หรือหลอดไฟ

3.2.2   หม้อน้ำแบบท่อน้ำหรือหลอดน้ำ

3.3  ลักษณะหม้อน้ำที่ดี  หม้อน้ำทุกแบบที่สร้างขึ้นมาใช้งาน มักมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกหม้อน้ำ ควรจะคำนึงถึงความต้องการใช้งานเป็นหลัก หม้อน้ำที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

3.3.1  ตัวโครงสร้างต้องเป็นแบบง่ายๆ มีความแข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งาน
3.3.2  ต้องใช้วัสดุและช่างฝีมือที่สร้างหม้อน้ำให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 
3.3.3  อุปกรณ์ที่ใช้เป็นชนิดที่ใช้กับหม้อน้ำโดยตรง ไม่มีการดัดแปลงอุปกรณ์ภายหลัง
3.3.4  การออกแบบการไหลหมุนเวียนของน้ำและก๊าซ ตลอดจนการถ่ายเทความร้อนต้องทำงานได้ดี   
3.3.5  มีพื้นผิวนำความร้อนมากและถ่ายเทความร้อนได้ดี
3.3.6  สามารถทำการตรวจทดสอบ และซ่อมแซมทุกส่วนของหม้อน้ำได้โดยสะดวก
3.3.7  เตาหรือห้องเผาไหม้ ต้องมีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในเตา        ได้อย่างสมบูรณ์
3.3.8  มีส่วนเก็บกักไอน้ำได้มาก

4. โครงสร้าง  อุปกรณ์ประกอบ  และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ
4.1.1   โครงสร้างของหม้อน้ำสร้างของหม้อน้ำ
4.1.2   ผนังหน้าและผนังหลังของหม้อไอน้ำ (End plates)
4.1.3  ท่อไฟใหญ่หรือลูกหมู  (Flue tube)
4.1.4  ท่อไฟเล็กหรือหลอดไฟ (Fire  tube) 
4.1.5  เหล็กยึดโยงหรือสเตย์ (Stay)
4.1.6   ช่องคนลอด (Man hole) 
4.1.7   เตาหรือห้องเผาไหม้ (Combustion   Chamber or Furnace) 
4.1.8   ปล่องไฟ (Stack)

4.2  อุปกรณ์ประกอบของหม้อน้ำ
4.2.1    เครื่องวัดระดับน้ำ (Water level gauge) ทำหน้าที่บอกระดับน้ำที่แท้จริงภายในหม้อน้ำ ว่าอยู่ในระดับสูงหรือต่ำเพียงใดระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำและอัตราการผลิตไอ โดยที่ผู้ควบคุมสามารถมองเห็นหรือสังเกตได้จากภายนอก เครื่องวัดระดับน้ำ แบ่งได้ดังนี้ คือ
    
1)  แบบหลอดแก้ว  เป็นแบบใช้วัดระดับน้ำภายในหม้อน้ำโดยตรง  ส่วนใหญ่ใช้กับหม้อน้ำที่มีระดับความดันไม่เกิน 25 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร 
2)   แบบความดันแตกต่าง ทำงานโดยอาศัยความดันแตกต่างภายในหม้อน้ำ ส่งผลถึงระดับของเหลวในหลอดแก้วให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง (ของเหลวในหลอดแก้วเท่ากับเป็นตัวแทนของระดับน้ำในหม้อน้ำนั้นเอง) นอกจากนี้วิธีวัดระดับน้ำในหม้อไอน้ำโดยวิธีความดันแตกต่าง ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นระบบควบคุมแบบอัตโนมัติโดยมีอุปกรณ์ส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าหรือลม (Transmitter) เพื่อต่อเข้ากับวงจรระบบควบคุมได้อีกด้วย 

Cast  iron and steel tube economizer should be equipped with at least one safety valve
 ( two are preferable)

4.2.2    มาตรวัดความดันไอน้ำ ( Pressure gauge)  มีหน้าที่วัดหรือแสดงระดับความดัน    ของไอน้ำ ภายในหม้อน้ำ เพื่อให้ผู้ควบคุมทราบถึงระดับความดันที่มีอยู่ภายใน ขนาดของมาตรวัดความดันที่ใช้กับหม้อน้ำ มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว  ตัวเลขแสดงระดับความดันสูงสุดควรอยู่ในช่วง 1-1.5 เท่าของความดันใช้งานปกติของหม้อน้ำนั้นๆ  และควรมีขีดสีแดงแสดงระดับความดันอันตรายให้เห็นชัดเจน (ขีดสีแดงอยู่ที่ระดับความดันไม่เกิน 10% ของความดันใช้งานสูงสุด)  ท่อที่ต่อเข้ากับมาตรวัดความดัน      เป็นไส้ไก่หรือท่อไซฟอน (Siphon tube)  เพื่อป้องกันการกระแทกของไอน้ำที่วิ่งเข้าไปภายในมาตรวัด    ความดัน โดยทั่วไปมาตรวัดความดันที่ใช้กันอยู่มี 2 แบบ คือ  แบบท่อบูร์ดอง  และแบบไดอะแฟรม
4.2.3    ลิ้นหรือวาล์ว  (Valve)  ที่ใช้กับหม้อน้ำมีอยู่หลายชนิด ตามความเหมาะสมของงานที่ใช้ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะตัวที่สำคัญๆ เท่านั้น ดังนี้
(1) โกล์บวาล์ว  (Glove valve) เป็นลิ้นปิด - เปิดช้า มีความเสียดทานสูง จะใช้เป็นลิ้นจ่ายไอน้ำหลัก (Main steam valve) หรือเรียกกันทั่วไปว่า ลิ้นแบ่งไอน้ำ
(2)  วาล์วกันกลับ  (Check valve) ยอมให้ของเหลวไหลไปในทิศทางเดียวไม่สามารถย้อนกลับมาได้   อยู่ที่ท่อน้ำทางเข้าหม้อน้ำ และท่อทางออกของไอน้ำหรือท่อจ่ายไอน้ำนั่นเอง มีหลายชนิด เช่น แบบสวิง (Swing check valve) แบบลูกสูบ (Piston check valve) เป็นต้น
(3)  วาล์วลดความดัน  (Pressure reducing valve) ทำหน้าที่ปล่อยไอน้ำออกจากหม้อน้ำเพื่อให้ได้ความดันในระดับที่ต้องการไปใช้กับเครื่องจักร หรืองานอื่นๆ ได้          
(4)  บอลวาล์ว  (Ball valve) เป็นวาล์วที่ปิด - เปิดเร็ว มีแรงเสียดทานต่ำ มักใช้เป็นวาล์วถ่ายน้ำทีก้นหม้อน้ำและทางน้ำเข้าหม้อน้ำ
4.2.4   เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำ  (Feed water pump) ทำหน้าที่ส่งน้ำจากถังพักน้ำเข้าเลี้ยง       หม้อน้ำ ต้องมีความสามารถในการส่งน้ำเข้าหม้อน้ำมากกว่าอัตราการผลิตไอของหม้อน้ำนั้นๆ และความดันของเครื่องสูบน้ำต้องสูงกว่าความดันภายในหม้อน้ำไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า จึงจะใช้ได้ดี เครื่องสูบน้ำแบ่งออกได้ดังนี้
                     1)  แบบแรงเหวี่ยง (Centrifugal pump)
                     2)  แบบหลายใบพัด (Turbine pump)
                     3)  แบบโรตารี่ (Rotary pump)
                     4)  แบบลูกสูบ (Reciprocating pump)
                     5)  แบบฉีด (Injector pump)
4.2.5  มาตรวัดปริมาณน้ำ  (Feed water consumption indicator) ใช้วัดปริมาณน้ำที่ส่งเข้าเลี้ยงหม้อน้ำ เพื่อให้ทราบปริมาณของน้ำที่สามารถกลายเป็นไอน้ำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ทราบกำลังการผลิตไอน้ำของหม้อน้ำนั้นๆ
4.2.6  เชื้อเพลิงและการเผาไหม้  สำหรับหม้อน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซล) ใช้หัวฉีดเป็นตัวพ่นน้ำมันให้เป็นฝอยละออง  เพื่อลุกไหม้ได้ง่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
  1)  แบบใช้ลมหรือไอน้ำช่วยสเปรย์ให้เป็นฝอย
  2)  แบบใช้แรงดันของน้ำมันสเปรย์ให้เป็นฝอย
  3)  แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์

1.อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ 

  การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ในการป้องกันอันตรายหรือเตือนเรื่องอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำโดยทั่วไปมีดังนี้
  4.3.1  ลิ้นนิรภัย  (Safety Valve) เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดของหม้อน้ำ ทำหน้าที่ระบายหรือลดความดันภายในหม้อน้ำที่เกินขีดจำกัด หรือเกินความต้องการออก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อน้ำระเบิด ลิ้นนิรภัยที่ใช้กับหม้อน้ำ มีอยู่ 4 แบบ คือ
  1)  แบบน้ำหนักทับโดยตรง  แบบนี้ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว
  2)   แบบคันตาชั่ง  ลักษณะเป็นคานมีน้ำหนักถ่วงที่ปลาย  แบบนี้ส่วนใหญ่ยังมีใช้กันตามโรงสีและโรงเลื่อยจักรทั่วไป เหมาะสำหรับหม้อไอน้ำที่มีความดันไม่เกิน 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
3)  แบบสปริงปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก และมีคันสำหรับยกทดสอบได้ โดยทั่วไปสำหรับหม้อน้ำที่มีความดันไม่เกิน 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  การปรับตั้งให้ไอน้ำระบายที่ความดันต่ำหรือสูง      ทำได้โดยการขันสกรูด้านบนของตัวลิ้น  ควรทดสอบสภาพการใช้งานที่ความดันประมาณ 70% ของความดันใช้งาน อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
4)  แบบไฟฟ้า  เป็นแบบใหม่ที่ยังใช้กันน้อย  มีใช้แต่เฉพาะหม้อน้ำขนาดใหญ่มากๆ  เช่น ตามโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเท่านั้น
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับลิ้นนิรภัย
 

1.ลิ้นมีไอน้ำรั่วออกมาตลอดเวลา มักเกิดจากปาลิ้นสึก หรือมีสิ่ง       สกปรกติดค้างอยู่ เช่น ฝุ่น สนิม ตะกรัน ฯลฯ เป็นเหตุให้หน้าลิ้น  ไม่สนิท
2.ลิ้นนิรภัยไม่ทำงาน อาจจากสปริงติดตายเพาะเกิดสนิม แกนลิ้นขด  ตัวหรือคดงอ
3.ลิ้นนิรภัยใช้สปริงขนาดไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
4.เปลี่ยนลิ้นนิรภัยใหม่ โดยมีขนาดและรูปร่างเท่าของเดิม  แต่อัตรา  การระบายไอน้ำไม่เท่าเดิม  เป็นต้น

  4.3.2   ปลั๊กหลอมละลายหรือสะดือหม้อน้ำ (Fusible plug) ปกติอยู่บริเวณห้องเผาไหม้หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง ปลั๊กหลอดละลายจะทำงานเมื่อระดับน้ำต่ำจนเกือบถึงจุดอันตราย ปลั๊กหลอมละลาย         มีจุดหลอมละลายต่ำประมาณ 235 °C  จะหลอมละลาย ทำให้ไอน้ำหรือน้ำภายในหม้อน้ำไหลออกมาดับไฟได้  ปลั๊กหลอมละลายบางแบบติดไว้สำหรับพ่นน้ำออกไปภายนอกเพื่อลดความดัน  หรือต่อเข้ากับนกหวีด เพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ควบคุมหม้อน้ำให้รีบหยุดหม้อน้ำก่อนที่หม้อน้ำจะเกิดอันตรายหรือระเบิดได้ โดยทั่วไปจะต้องเปลี่ยนปลั๊กหลอมละลายทุก ๆ ปี  ปลั๊กหลอดละลายที่ใช้มีหลายชนิดดังนี้
  ก. แบบใส่ทางด้านในหรือด้านน้ำ(Inside Type)
  ข. แบบใส่ทางด้านนอกหรือด้านไฟ (Outside Type)
  ค. แบบทำหน้าที่เป็นฟิวส์เมื่อละลายจะมีสัญญาณ (Fuse Alarm)
ควบคุมระดับน้ำ (Water level control) ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายน้ำเข้าหม้อน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำภายในให้คงที่อยู่ตลอดเวลาที่ทำงาน หลักการทำงานอาศัยความแตกต่างของระดับน้ำ เพื่อตัดต่อสัญญาณไปควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ และสัญญาณเสียงแจ้งเหตุเมื่อน้ำแห้ง เครื่องควบคุมระดับน้ำ แบ่งเป็นหลายแบบ ดังนี้
1)  แบบลูกลอย (Float type) หลักการทำงานอาศัยลูกลอย แกนลูกลอย สวิตช์ปรอทเป็นตัวต่อวงจรไฟฟ้า อาศัยการพลิกตัวของหลอดแก้วสวิทช์ปรอท
2)  แบบอิเลคโทรด (Electrode type) แท่งอิเลคโทรดเป็นสื่อไฟฟ้า และน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าสำหรับตัดต่อสัญญาณควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ หัวฉีด หรือสัญญาณเสียงอีกต่อหนึ่ง ข้อควรระวังคือไม่ควรมีตะกรันจับที่แท่งอิเลคโทรดมาก เพราะจะทำให้การควบคุมทางไฟฟ้า เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
3)  แบบเทอร์โมสแตติก(Thermostatic expansion) หลักการทำงานอาศัยการขยายตัวของโลหะเมื่อได้รับความร้อน เป็นตัวปิดเปิดน้ำเข้าหม้อน้ำโดยตรง แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

4.3.4   สวิตช์ควบคุมความดัน(Pressure control switch) ทำหน้าที่ควบคุมความดันของไอน้ำ ภายในหม้อน้ำให้คงที่ โดยส่งสัญญาณไปตัดน้ำมันที่หัวฉีดเมื่อมีความดันถึงกำหนด และต่อวงจรเมื่อมีความดันลดต่ำลง การทำงานดังกล่าวอาศัยความดันไอน้ำไปกระทำต่อเบลโลวล์ ซึ่งติดกับหลอดแก้วสวิตช์ปรอท เมื่อมีความดันสูงขึ้นถึงที่กำหนดจะดันหลอดแก้วให้พลิกกลับไปอีกด้านหนึ่ง ปรอทภายในหลอดแก้ววิ่งไปทางด้านตรงข้ามเป็นการตัดวงจร หัวฉีดน้ำมันหยุดทำงาน

4.3.5   สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ (Automatic alarm) เป็นอุปกรณ์แจ้งเตือนอันตราย เมื่อน้ำในหม้อน้ำ มีปริมาณน้อยกว่าปกติหรือต่ำถึงจุดอันตรายที่กำหนดไว้ เป็นสัญญาณเสียงหรือแสงก็ได้ และสามารถต่อเข้ากับระบบเพื่อเตือนภัยโดยอัตโนมัติร่วมกับเครื่องควบคุมความดันด้วยก็ได้
4.3.6   ฝานิรภัย (Access door) นิยมใช้มากโดยเฉพาะหม้อน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว เพื่อช่วยป้องกันแรงกระแทกขณะเริ่มติดไฟในห้องเผาไหม้ มิให้กระทำอันตรายต่อห้องเผาไหม้ โดยทั่วไปอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำ

 

น้ำสำหรับหม้อน้ำ

น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหม้อน้ำ เพื่อให้น้ำกลายเป็นไอ และนำไอน้ำนั้น ไปใช้งานตามวัตถุประสงค์  หากน้ำมีคุณภาพไม่ดี  หลังจากน้ำระเหยไปคงเหลือสารที่ปนมากับน้ำตกค้างอยู่ภายในหม้อน้ำ  ถ้าน้ำยิ่งกลายเป็นไอมากๆ สิ่งสกปรกตกค้างภายในหม้อน้ำมาก  ทำให้เกิดผลเสียหายต่อหม้อน้ำอย่างใหญ่หลวง

55.1  สสารที่เจือปนมากับน้ำสามารถแยกออกได้ดังนี้
1)  สารแขวนลอยมากับน้ำ  สารประเภทนี้จะมีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่า ถ้าปนมากับน้ำมากๆ  ทำให้เกิดโคลน ตะกรัน ขึ้นในหม้อน้ำ และบางลักษณะเกิดการครูดเปลือกหม้อน้ำให้บางลงได้ ลักษณะนี้    เกิดขึ้นได้  เนื่องจากการหมุนวนของน้ำภายในหม้อน้ำ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ
2)  สารละลาย  สารที่ปนมากับน้ำชนิดนี้ได้แก่ เกลือแร่ กรด ด่าง และก๊าซต่างๆ เป็นต้น          เป็นสาเหตุการผุกร่อนภายในหม้อน้ำ  เนื้อเหล็กจะบางลง หรือตะกรันที่แข็งมากเกาะติดแน่นไม่สามารถกำจัดออกได้โดยง่าย
.2  คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมกับหม้อน้ำ
  น้ำที่เข้าหม้อน้ำควรเป็นน้ำบริสุทธิ์  ไม่มีสิ่งอื่นเจือปนใดๆ  ในทางปฏิบัติน้ำที่มีความบริสุทธิ์ 100% ทำได้ยากและค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือปรับคุณภาพน้ำที่ทันสมัยก็ยังไม่สามรถทำได้ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำที่เข้าหม้อน้ำ คือ
5.2.1   ต้องควบคุมน้ำให้มีความกระด้างและความขุ่นน้อยที่สุด (ต้องเป็นน้ำอ่อน)
  5.2.2   ต้องปรับให้มีความเป็นกรด- ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 9-11                             
(วัดเมื่ออยู่ในหม้อน้ำ)
5.2.3   ต้องควบคุมค่าปริมาณสารละลายในน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids-TDS) มีค่าไม่เกิน 3,500 ส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร
5.3  การปรับคุณภาพน้ำ  สามารถกระทำได้  2  แบบ  คือ
5.3.1 การปรับคุณภาพน้ำก่อนเข้าหม้อน้ำ มีวิธีการดังนี้
  1)  วิธีใส่ปูนขาวและโซดาแอช  การใส่ปูนขาวสามารถขจัดความกระด้างชั่วคราวของน้ำ ให้ตกตะกอนได้หมด  ส่วนโซดาแอชขจัดความกระด้างถาวรของน้ำให้ตกตะกอนไปให้หมด
  2)  วิธีการแลกเปลี่ยนประจุ  เป็นการใช้เรซินชนิดแยกประจุบวกอย่างเดียว บางครั้ง เรียกการปรับปรุงน้ำนี้ว่า  “การทำน้ำอ่อน” โดยเรซินจะดึงประจุบวกของสารที่ละลายอยู่ในน้ำออกมา ทำให้สารชนิดนั้นแตกตัว ไม่สามารถจับตัวเป็นตะกรันได้
  3)  ดิมินเนอร์ไลเซชั่น (Deminerlization of water) โดยการใช้เรซินชนิดแลกเปลี่ยน ประจุบวกและประจุลบกับสารเจือปนในน้ำ การทำวิธีนี้ใช้เรชินชนิดบวกและลบใส่อยู่ในถังเดียวกันเรียกว่า MIXED BED ED-CHANGER การปรับคุณภาพน้ำของอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถลดปริมาณสารละลายในน้ำลงเหลือประมาณ 0 ถึง 20 ppm.
4.)  การกำจัดด่าง (Dealkali)   เป็นการใช้เรซินชนิดแลกเปลี่ยนประจุลบ เพื่อใช้กำจัด ความเป็นด่างที่มีมากเกินไป ปกติมักจะติดตั้งไว้หลังถังกรองเรซินชนิดแลกประจุบวก ในกรณีที่น้ำมีสภาพเป็นด่างแก่มากเกินไป คือ ค่าpH สูงมาก จะทำให้เหล็กเปราะและแตกร้าวได้ง่าย
5)   การกำจัดก๊าซละลายในน้ำ (Deaeration)  เพื่อกำจัดออกซิเจนที่ละลายในน้ำสำหรับเลี้ยงหม้อน้ำ การกำจัดออกซิเจนด้วยสารเคมี เช่น โซเดียมซัลไฟต์ หรือ ไฮดราซิน อาจมีค่าใช้จ่ายที่แพง ดังนั้น การใช้เครื่องแยกออกซิเจนออกจากน้ำหรือเรียกว่า “ ดีแอเรเตอร์” จะประหยัดกว่าและไม่ยุ่งยาก โดยเอาน้ำที่จะเข้าหม้อน้ำผ่านหม้ออุ่นน้ำเลี้ยงที่ใช้เป็นดีแอเรเตอร์ด้วย  โดยอุ่นให้มีอุณหภูมิสูงถึง 82 - 88 °C ออกซิเจนจะแยกตัวออกจากน้ำไปจนเกือบหมด  ส่วนที่เหลือจึงใช้สารไฮดราซีน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนส่วนที่เหลือต่อไป
5.3.2   การปรับคุณภาพน้ำภายในหม้อน้ำ  สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
  1) การเติมสารเคมี  ในการปฏิบัติทั่วไปจะเติมสาร “ คอลลอยด์”  ซึ่งมีคุณสมบัติ แขวนลอยในน้ำโดยไม่ตกตะกอน เช่น พวกแทนนิน เมื่อความกระด้างของน้ำ ทำปฏิกิริยากับแทนนิน จะเกิดเป็นตะกอน (หินปูน)  ตะกอนนี้จะไปเคลือบที่ผิวของคอลลอยด์แทนการจับที่ท่อของหม้อน้ำ  สารคอลลอยด์เมื่อถูกหินปูนจับมากเข้ามีขนาดใหญ่ขึ้นตกลงก้นหม้อน้ำ  และโบลดาวน์(Blowdown) ทิ้งไป
  2)  การโบลดาวน์  การปล่อยน้ำออกจากใต้หม้อน้ำบ่อยๆ ช่วยให้สิ่งเจือปนในหม้อน้ำที่ตกตะกอนถูกไล่ออกมาก่อนที่จะไป ทำปฏิกิริยาให้เกิดเป็นตะกรันขึ้นจับตามท่อภายในต่าง ๆ
5.4  ปัญหาที่เกิดจากน้ำ  ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำที่ใช้กับหม้อน้ำมักจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตะกรัน  สิ่งแปลกปลอมและการกัดกร่อนภายในหม้อน้ำ  นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว น้ำที่ใช้ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาภายในหม้อน้ำได้ดีอีก ดังนี้
5.4.1   การเกิดน้ำปะทุและเป็นฟองในหม้อน้ำ
  1)  น้ำปะทุภายในหม้อน้ำ  หมายถึง ลักษณะการเดือดอย่างรุนแรงและผิดปกติของน้ำ ภายในหม้อน้ำ  ทำให้ระดับน้ำภายในหม้อน้ำแปรปรวนมาก  และการควบคุมระดับน้ำของหม้อน้ำทำได้ยาก  การปะทุเป็นเหตุให้น้ำกระเด็นเป็นฝอย และหลุดปะปนไปกับไอน้ำมากขึ้น
  2)  น้ำเป็นฟองภายในหม้อน้ำ  หมายถึง  การเกิดเป็นฟองขนาดเล็กมากมายขึ้นบนผิวน้ำ คล้ายกับฟองผงซักฟอกในอ่างซักผ้า  ปัญหาการเกิดฟองจะรุนแรงน้อยกว่าการเกิดน้ำปะทุแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในลักษณะเดียวกัน คือ ทำให้ไอน้ำสกปรก เนื่องจากฟองที่เกิดขึ้นหลุดติดไป กับไอน้ำ
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำปะทุและเป็นฟอง  มีดังนี้
  (1)  น้ำที่ใช้มีสิ่งสกปรก เช่น น้ำมันหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆอยู่เป็นจำนวนมาก
  (2)  น้ำที่ใช้ มีสารละลายในน้ำสูง(TDS)  ทั้งอาจเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น มีการระบายน้ำทิ้งน้อยเกินไป หรือน้ำมีความเป็นด่างสูงเกินไป ใส่สารเคมีเพื่อป้องกันสนิมหรือป้องกันการเกิดตะกรันมากเกินไป ทำให้ในน้ำมีความเข้มข้นสูง เหล่านี้เป็นต้น
5.4.2   การเกิดแครีโอเวอร์ในหม้อน้ำ  คือ การที่มีสิ่งแปลกปลอกปนอยู่ในไอน้ำ สาเหตุเกิดจาก มีการสัมผัสโดยตรงระหว่างละอองน้ำเดือดกับไอน้ำหรือไอระเหยของสารกับไอน้ำ การเกิดแครี่โอเวอร์จึงแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
  1) แครีโอเวอรที่เกิดจากละอองน้ำ  เกิดขึ้นได้เนื่องจากละอองน้ำที่กระเด็นจากผิวน้ำที่เดือดแล้วสัมผัสกับไอน้ำที่มีอยู่  ทำให้ละอองน้ำถูกพัดพาไปกับไอน้ำ ถ้าละอองน้ำมีสารจำพวกไบคาร์บอเนต หรือเป็นตะกอนของแข็ง เช่น ทรายทำให้เกิดผลเสียแก่อุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำ
  2) แครี่โอเวอร์ที่เกิดจากไอระเหยของสาร  เกิดขึ้นเฉพาะกับหม้อน้ำที่มีความดันสูงเกินกว่า 600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  ที่ความดันสูงอุณหภูมิของน้ำสูงตามด้วย  ถ้าสูงพอที่ทำให้สารละลายในน้ำ เช่น      ซิลิก้า เกิดการระเหยกลายเป็นก๊าซก็จะทำให้ถูกพัดพาไปกับไอน้ำ  ก่อให้เกิดปัญหากับท่อส่งไอน้ำและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ไอน้ำ  เช่น  เครื่องกังหันไอน้ำที่ใช้เป็นเครื่องต้นกำลังฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามโรงไฟฟ้าพลัง      ความร้อน เป็นต้น
สาเหตุที่ทำเกิดแครี่โอเวอร์มีดังนี้
  1)  การเกิดน้ำปะทุและน้ำเป็นฟอง
  2)  หม้อน้ำถูกใช้งานผลิตไอน้ำสูงกว่าที่ออกแบบไว้
  3)  ระดับน้ำในหม้อน้ำสูงเกินไป
  4)  ไม่มีการแยกน้ำที่กลั่นตัวแล้วออกการถังพักไอ
  5)   มีการนำไอน้ำไปใช้อย่างกะทันหัน จนไม่สามารถผลิตไอน้ำทดแทนได้ทันเป็นเหตุให้มีละอองน้ำหลุดออกไปด้วย
6.   การตรวจสอบหม้อน้ำ

6.1   การตรวจสอบประจำวัน (Daily check)

6.1.1    ก่อนการเดินเครื่อง

  1)  ดูระดับน้ำภายในหม้อน้ำต้องอยู่ในระดับปกติ

  2)  ตรวจสอบปั๊มน้ำ ท่อทางเดินน้ำและลิ้นน้ำเข้า  ต้องอยู่ในตำแหน่งเปิด

  3)  ตรวจสอบลูกลอยชุดควบคุมระดับน้ำ

  4)  ทางระบายน้ำฉุกเฉิน (โบล์วดาวน์)

  5)  ลิ้นระบายน้ำและไอ

  6)  ระดับน้ำมันและโบลเวอร์

  7)  ตรวจดูความเรียบร้อยโดยรอบ

  8)  จดบันทึกประจำวัน
Safety Professionals should know enough
 about boiler room
6.1.2   ตรวจหลังการเดินเครื่องแล้ว
1)  ตรวจสอบระดับน้ำและทางเดินน้ำเข้าหลอดแก้ววัดระดับน้ำอีกครั้งหนึ่ง    
2)  ตรวจสอบลิ้นนิรภัยโดยการยกทดสอบที่ความดันภายในหม้อน้ำประมาณ 70%       ของความดันใช้งาน
3)  สังเกตมาตรวัดความดัน ถ้ามี 2 ตัว จะต้องขึ้นเท่ากัน
4)  ทดสอบปล่อยน้ำออกที่วาล์วระบายใต้หม้อน้ำ
5)  เมื่อความดันไอน้ำถึงระดับใช้งาน จึงค่อยๆเปิดไอไปใช้งาน

6.2  การตรวจสอบประจำปี 

         จะต้องทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่สำคัญของหม้อน้ำ ดังนี้

1)  ตรวจสอบลิ้นนิรภัยและปรับตั้งระดับความดันปล่อยไอน้ำให้ถูกต้อง

2)  ตรวจสอบมาตรวัดความดัน โดยใช้เทียบกับมาตรมาตรฐานหรือเทียบกับน้ำหนักมาตรฐาน

3)  ตรวจสอบระบบท่อทางเดินที่ไปยังหลอดแก้ววัดระดับน้ำและไอ รวมถึงลิ้นปิดเปิด ที่อยู่ในระบบทุกตัวต้องไม่มีการอุดตัน

4)  ตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน รวมถึงชุดควบคุมระดับน้ำ และชุดควบคุม        ระดับความดัน

5)  ตรวจสอบตะกรันหม้อน้ำ  มีความหนาไม่ควรเกิน 1/16 นิ้ว (~1.6 มิลลิเมตร)

6)  ตรวจสอบทางระบายฉุกเฉิน ไม่ให้มีตะกรันเกาะติดมาก
7)  ทดสอบความแข็งแรงโดยอัดความดันด้วยน้ำ (Hydrostatic test) ตามข้อกำหนดของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม หลังการอัดน้ำทดสอบต้องส่งรายงานผลการทดสอบพร้อมเอการการรับรองของวิศวกรเครื่องกล ซึ่งมีใบ ก.ว. ประเภทสามัญวิศวกร
8)  ตรวจสอบสภาพรอยรั่ว  เหล็กยึดโยงภายใน  และสภาพทั่วๆ ไปโดยรอบ
9)  ตรวจสอบระบบเผาไหม้  เช่น  หัวฉีด  พัดลม เครื่องอุ่นน้ำมัน  เป็นต้น
10) ตรวจสอบสภาพฉนวนรอบตัวหม้อน้ำและท่อจ่ายไอน้ำ
7. การบำรุงรักษาหม้อน้ำ
การบำรุงรักษาหม้อน้ำโดยทั่วไป มักแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะใหญ่ คือ การบำรุงรักษาหม้อน้ำด้านสัมผัสน้ำและการบำรุงรักษาหม้อน้ำด้านสัมผัสไฟ
7.1 การบำรุงรักษาหม้อน้ำด้านสัมผัสน้ำ ตามปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นดังตารางที่ 2
 

ปัญหา สาเหตุ การแก้ไข - ป้องกัน
1. มีตะกรันจับตามผิวสัมผัสไฟเช่น ท่อน้ำ ท่อไฟ ผนังเตา 1.1 น้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำมีความกระด้างสูง มีสารละลาย เช่น Ca, Mg, CaCO3,CaSO4 ละลายปนอยู่มาก 1.1 ปรับสภาพน้ำให้เป็นน้ำอ่อน,เติมสารเคมี, ใช้ Condensate ป้อนเข้าหม้อน้ำขจัดตะกรันออกโดยการเคาะ  ขัด หรือล้างด้วยน้ำยาเคมี
  1.2 ขาดการบำรุงรักษาเครื่องทำน้ำอ่อน (Softener) ที่ถูกต้อง  เหมาะสม 1.2 ปรับสภาพเครื่อง Softener ตามระยะเวลาที่ เหมาะสม
2. มีตะกอนมาก น้ำขุ่น เกิดฟอง หรือเกิดการเดือดพล่าน ภายในหม้อน้ำ

2.1 มีสารแขวนลอย เช่น ตะไคร่น้ำหรือสาหร่าย หรือโคลน สีหรือสิ่งสกปรกเจือปนในน้ำ มาก

 
2.1 การระบายน้ำทิ้งให้เหมาะสม (ครั้งละ  5 วินาที ไม่เกิน 8 ชม./ครั้ง) และปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม ปล่อยให้ตกตะกอน การกรอง การดูดซึมด้วยผงถ่าน การทำน้ำอ่อน การปรับปรุงสภาพน้ำด้วยวิธี Deminerization และใช้น้ำ Condensate ให้มากที่สุด
3. ส่วนที่สัมผัสน้ำผุกร่อนหรือกัด กร่อนเป็นรูพรุน 3.1 สภาพน้ำเป็นกรด pH ต่ำกว่า 7มี HCI, H2SO4 ละลายอยู่ในน้ำ 3.1 ทำให้น้ำเป็นด่าง โดยการเติม สารปรับ pH ให้มีค่าระหว่าง 9 - 11
     3.2 มี CO2 ละลายอยู่ในน้ำ 3.2 แยกแก๊สที่ปะปนออกโดยวิธี  Dearation หรือทำให้เป็นกลางโดยเติมด่างหรือแอมโมเนีย
  3.3 มี Oxygen ละลายในน้ำ 3.3 แยกแก๊สเจือปนออกโดยวิธี De - aration หรือเติมโซเดียมซัลไฟต์,      ไฮดราซีน
  3.4 มีแร่ธาตุในน้ำ 3.4 แยกออกโดยวิธี Aeration, Cation exchange, ปล่อยให้ตกตะกอนหรือ    กรองน้ำ
4. เกิดการแตกร้าวในเนื้อโลหะ 4.1 น้ำเป็นด่างมากเกินไปมี
NaCO3,Na(HCO3),Na(OH3) มาก


 
4.1ใช้กรรมวิธีปรับสภาพน้ำด้วย Lime-Soda Softening,Demineri-zation, Anionexchange
     4.2 โครงสร้างสำหรับรับแรงงานดันไม่แข็งแรง 4.2 เสริมโครงสร้างให้แข็งแรง
ปัญหา สาเหตุ การแก้ไข - ป้องกัน

5. ไอน้ำมีน้ำปนมาก (เกิดการ Carry Over)

5.1 น้ำในท่อไอน้ำสกปรก
      มีสิ่งเจือปนมาก
5.2 ท่อจ่ายไอน้ำเล็กเกินไป
5.3 มีการสูญเสียความร้อนที่ท่อ
     จ่ายไอมาก
5.4 มีน้ำกลั่นตัวในท่อพักรวม
      (Steam Header)
5.5 มีการใช้ไอน้ำอย่างทันทีทันใด
5.6 หม้อไอน้ำเล็กเกินไป ผลิตไอน้ำ
     ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
5.7 รักษาระดับน้ำในหม้อน้ำสูง
      เกินไป

5.1 ถ่ายน้ำทิ้งและเติมใหม่ กรองน้ำ
     ให้สะอาด
5.2 เปลี่ยนท่อจ่ายไอให้ใหญ่ขึ้น
5.3 หุ้มฉนวน
5.4 ระบายน้ำทิ้ง  ติดตั้ง Steam Trap
5.5 เปิดวาล์วจ่ายไอช้าๆ
5.6 ลดปริมาณการใช้ไอน้ำ หรือ
     สลับกันใช้ไอน้ำ
5.7 ระบายน้ำทิ้ง ป้อนน้ำเข้าหม้อน้ำ
      ในระดับที่พอดี  ติดตั้งสัญญาณ
      เตือน ระดับน้ำสูงเกินกว่าปกติ
6. ท่อไฟใหญ่  เพดานเตาหรือผิว
    ที่สัมผัสไฟเกิดการชำรุด
    บวม (เสียรูป)
6.1 น้ำในหม้อไอน้ำแห้ง
6.2 มีตะกรันจับตามผิวสัมผัส
    ไฟหนา
6.3 มีโคลน ตะกอน สะสมอยู่ใน
     หม้อไอน้ำมาก
6.4 การออกแบบโครงสร้างไม่
     ถูกต้องเหมาะสม
6.1 ติดตั้งสัญญาณเตือน    
     เมื่อระดับน้ำต่ำกว่าปกติ
6.2 ขจัดตะกรันออก, ปรับปรุง
      คุณภาพน้ำให้เหมาะสม
6.3 ระบายน้ำทิ้งให้บ่อยขึ้น
     (ครั้งละ 5 วินาที ไม่เกิน
     8 ชม./ครั้ง)
6.4 แก้ไขโครงสร้างใหม่ ปรึกษา
    โรงงานผู้ผลิตหรือวิศวกร

7.2  การบำรุงรักษาหม้อน้ำด้านสัมผัสไฟ
  เขม่าบนผิวสัมผัสทำให้ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เชื้อเพลิงมีกำมะถันปนอยู่มาก เช่น น้ำมันเตาจะมีกำมะถันปนอยู่กับเขม่า  ถ้ารวมตัวกับน้ำหรือไอน้ำก็จะกลายเป็นกรดกัดกร่อนเหล็กได้  การป้องกันการกัดกร่อนอาจทำได้โดยใช้หัวเชื้อน้ำมันเตาผสมลงไป จะช่วยให้กำมะถันถูกเผาไหม้กลายเป็น     ไอระเหยออกไป หรือการรักษาอุณหภูมิของปล่องไฟให้สูงกว่า 160 องศาเซลเซียส  เป็นการลดการรวมตัวของกำมะถันกับไอน้ำได้
  วิธีการตรวจสอบอย่างง่ายๆว่า พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อนมีเขม่าเกาะติดมากน้อยสมควร ที่จะทำความสะอาดหรือไม่ โดยการตรวจดูเทอร์โมมิเตอร์ที่ปล่องไอเสียปกติอุณหภูมิของปล่องไอเสียเมื่อเดินเครื่องตามปกติ จะมีอุณหภูมิประมาณ 200 องศาเซลเซียสและไม่เกิน 250 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิ สูงมากกว่า 250 องศาเซลเซียส ขึ้นไป แสดงว่ามีเขม่าเกาะติดอยู่พอสมควร ควรที่จะทำความสะอาดได้แล้ว
เนื่องจากเขม่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่ถ่ายเทจากไฟไปสู่น้ำ ถ้าเขม่าหนา 1/32 นิ้ว     อาจทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 6.25%
โดยปกติอุณหภูมิของน้ำหรือไอน้ำภายในหม้อน้ำ จะต่ำกว่าอุณหภูมิปล่องไอเสียไม่เกิน        80  องศาเซลเซียส ถ้าเกินกว่านี้ แสดงว่าหม้อน้ำมีเขม่าหรือตะกรันหนาแล้ว
7.2.1  การผุกร่อนของท่อและส่วนประกอบที่เป็นโลหะในเตา การผุกร่อนมี 2 ลักษณะคือ
1) การผุกร่อนที่อุณหภูมิต่ำ  มักพบในส่วน Convection Section ของเตาเผาและที่ปล่องไฟ สาเหตุเกิดจากมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในไอเสีย อันเนื่องมาจากอากาศสำหรับการเผาไหม้มีมากเกินไป และอุณหภูมิของแก๊สเสียลดต่ำกว่าจุดกลั่นตัวของกรดกำมะถัน ไอของกรดจึงกลั่นตัวลงบนผิวโลหะเกิดการกัดกร่อนขึ้น แก้ไขได้โดยลดปริมาณอากาศสำหรับการเผาไหม้ลง และหุ้มปล่องไฟ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนออกไป อันจะทำให้ผิวปล่องไฟเย็นกว่าจุดกลั่นตัวของไอกรดหรือทาด้วยสารกันการกัดกร่อนทั้งด้านในและด้านนอก ตรงส่วนปลายของปล่อง ซึ่งอุณหภูมิจะเย็นกว่าจุดกลั่นตัวของไอกรด
2)  การผุกร่อนที่อุณหภูมิสูง  มักพบใน Radiant Section เกิดจากการสะสมตัวของสารประกอบของวานาเดียมและโซเดียมบนผิวโลหะที่ร้อน (อุณหภูมิราว 540 - 590 องศาเซลเซียส) การเกิดการผุกร่อนขึ้นนั้น เนื่องมาจากไอของสารประกอบโซเดียมพอกตัวขึ้นก่อนบนผิวร้อน เกิดเป็นสารเหนียว จากนั้นไอของสารประกอบของวานาเดียมและโซเดียมจะสะสมตัวตามมา เกิดเป็นสารที่สามารถกัดกร่อนได้  สามารถป้องกันได้ โดยพยายามถ่ายน้ำออกจากถังเก็บน้ำมันเตาเป็นประจำ น้ำสามารถละลายพวกเกลือโซเดียมออกมาได้  ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้น้ำมีโอกาสเข้าสู่หัวฉีด นอกจากนั้นยังควรตรวจสอบจำนวนอากาศที่เข้าหัวฉีดต้องไม่มากเกินไป  การฉีดพ่นละอองน้ำมันควรจะดีเยี่ยมเป็นฝอยเสมอกัน เพื่อให้คลุกเคล้าอากาศได้ทั่วถึง
  7.2.2   ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้น้ำมันเตา  การเกิดเป็นถ่านแข็งเกาะติดตามผนังหรือท่อ     มีสาเหตุดังนี้
1) เปลวไฟถูกทำให้เย็นลงอันเนื่องมาจาก
(1) เปลวไฟหรือไอน้ำมันชนปะทะผนังเตา ผิวท่อซึ่งเย็นจะทำให้อุณหภูมิผิวท่อลดต่ำกว่าจุดติดไฟ เกิดเป็นเขม่าจับตัวแข็ง
                  (2) ตำแหน่งหัวฉีดไม่ได้ศูนย์กลางในห้องเผาไหม้ (Miss alignment) ทำให้เปลวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งและชนขอบผนังเตา
                 (3) ช่องบังคับทางลมชำรุด ผุกร่อน เคลื่อนตัวหรือบิดงอจากสภาพเดิม ทำให้อากาศไม่สามารถผสมเข้ากับไอน้ำมันได้ดี การเผาไหม้จึงไม่สมบูรณ
                 (4) การกระจายของอากาศรอบๆหัวฉีดไม่สม่ำเสมอ ด้านหนึ่งขาดอากาศอีกด้านหนึ่งกลับมีอากาศมากเกินไป
2) การฉีดพ่นฝอยของหัวฉีดไม่ดีพอ ละอองน้ำมันมีลักษณะเม็ดโตเกินไปและขนาดไม่สม่ำเสมอทั้งนี้เกิดจาก
                      (1) ความข้นใสของน้ำมันไม่ได้ตามข้อกำหนด เช่น สำหรับหัวฉีดอาจจะสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป เนื่องจากการควบคุมอุณหภูมิน้ำมันไม่ได้ที่ ทั้งนี้ควรตรวจดูหม้ออุ่นน้ำมันและตัวควบคุมอุณหภูมิของน้ำมัน
  (2) ความดันของน้ำมันเตาหรือความดันของไอน้ำ/ ลมต่ำไป ไม่ได้ตามข้อกำหนด จึงควรตรวจดูปั๊มน้ำมัน หม้อกรองน้ำมันว่าอุดตันหรือไม่
  (3) หัวฉีดสึกกร่อน ชำรุด หรืออุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวฉีดประเภทใช้ความดันสำหรับตัวน้ำมันเตาเองนั้น ร่องบนหัวฉีดมีความสำคัญต่อการพ่นฝอยของน้ำมันมาก เพราะหากร่องนี้เกิดชำรุดหรือบิดเบี้ยว หัวฉีดจะไม่สามารถพ่นเป็นฝอยละเอียดตามต้องการได้ การล้างหัวฉีดจึงต้องระวังอย่าใช้ของแข็งขูดหรือแคะ จนเป็นรอยหรือเสียรูปได้
3) อากาศสำหรับเผาไหม้ไม่พอเพียงเกิดจาก
  (1) ช่องทางอากาศเข้าเตาเกิดอุดตัน
  (2) อิฐทนไฟรอบๆ ชุดหัวฉีดพังลงมาปิดกั้นทางลม
  (3) ทางดูดข้าวของพัดลมที่ใช้เป่าอากาศเข้าชุดหัวฉีดเกิดอุดตัน
4)   มีน้ำและของแข็งที่เผาไหม้ไม่ได้ปะปนอยู่ในน้ำมันเตามาก
7.3   การบำรุงรักษาฝาหอยหรือช่องคนลอด
  การรั่วซึมที่ช่องคนลอดและช่องมือลอด อาจเป็นเหตุให้เกิดการผุกร่อนอย่างรวดเร็วที่บริเวณ  ฝาปิดช่องคนลอดและฝาปิดช่องมือลอด สำหรับสาเหตุของการรั่วซึม โดยทั่ว ๆไปมีดังนี้
  7.3.1   ปิดฝาหอยไม่แน่น โดยปะเก็นไม่สามารถยืดหยุ่นตัวได้ จึงกันรั่วไม่ได้
  7.3.2   นำปะเก็นเก่ามาใช้อีก จึงมีการรั่วซึมบริเวณรอยต่อ
  7.3.3   ต่อปะเก็นไม่ถูกต้อง จึงมีการรั่วซึมบริเวณรอยต่อ
  7.3.4   ใช้ปะเก็นไม่เหมาะสมกับหม้อน้ำ
  7.3.5   ใส่ฝาหอยไม่ตรง ทำให้ขอบฝาหอยติดค้าง ไม่สามารถขันน๊อตให้ฝาหอย
                          แนบสนิทกับปะเก็นได้
  7.3.6   ไม่ได้ทำความสะอาดฝาหอยก่อนใส่ปะเก็นใหม่ ทำให้มีเศษผงค้างคาบริเวณ    
                          ผิวหน้าสัมผัส ไม่สามารถขันน๊อตให้ฝาหอยแนบสนิทกับปะเก็นได้
7.4   การเก็บรักษาหม้อน้ำเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  หม้อน้ำที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาให้ถูกวิธี ทั้งทางด้านสัมผัสไฟและด้านสัมผัสน้ำ และต้องตัดแยกสวิทช์ไฟฟ้าทั้งหมด ดังนี้
                    7.4.1   การรักษาผนังด้านสัมผัสไฟ  เพื่อป้องกันการผุกร่อนผนังด้านสัมผัสไฟ จะต้องจัดเขม่า  ที่จับอยู่ในห้องเผาไหม้ผิวสัมผัสท่อไฟ และวัสดุทนไฟทั้งหมดออก เพื่อป้องกันปฏิกิริยากัดกร่อน
7.4.2   การรักษาผนังด้านสัมผัสน้ำ  แบ่งได้ 2 แบบคือ
                            1) การเก็บรักษาแบบแห้ง  ถ้าต้องการเก็บหม้อน้ำเกินกว่า 3 เดือน จะต้องระบายน้ำทิ้ง เคาะล้างตะกรันออกให้หมดและเป่าด้วยอากาศจนแห้ง  แล้วใส่สารที่ดูดความชื้น เช่น ปูนขาว ซิลิกาเจล (Silica gel) หรือแอกติเวกเต็ด อลูมินา (Activated alumina) ลงในถาด แล้วใส่ไว้ข้างในหม้อน้ำพร้อมกับปิดฝาต่างๆ ที่เปิดอยู่ เพื่อป้องกันความชื้นและอากาศเข้าไป ในกรณีหม้อน้ำขนาดใหญ่ใช้ความดันสูง การเก็บแบบแห้งจะอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในหม้อน้ำ โดยเปิดวาล์วระบายใต้เตา เพื่อให้ก๊าซไนโตรเจนไล่ก๊าซอื่นออกไปให้หมด และไล่ความชื้นออกไปด้วย จากนั้นปิดวาล์ว แล้วอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าหม้อน้ำจนได้ความดันประมาณ 5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และพยายามรักษาความดันนี้ให้คงที่ตลอดเวลา
2) การเก็บรักษาแบบเปียก  ถ้าต้องการเก็บหม้อน้ำไม่เกิน 3 เดือนให้เติมน้ำจนเกือบเต็มแล้วปิดวาล์วระบาย ที่อยู่สูงที่สุดของหม้อน้ำ จากนั้นให้เดินเครื่องจนเกิดไอน้ำขึ้นชั่วขณะ จากนั้นเติมน้ำให้เต็มหม้อน้ำ แล้วเติมโซเดียมซัลไฟต์ (Na2SO3) และไฮดราซีน (N2H4) ลงในน้ำ ให้มีความเข้มข้น 100 ppm (1.5 ปอนด์ของ Na2SO3 หรือ N2H4 ต่อ 100 แกลลอนของน้ำที่เติมเข้าไป) แล้วเติมโซดาไฟ (NaOH) เพื่อให้เกิดสภาพความเป็นด่าง มีความเข้มข้นประมาณ 400 ppm. (3 ปอนด์ของโซดาไฟ ต่อ 1,000 แกลลอนของน้ำ) ทั้งนี้ เพื่อไล่ออกซิเจนในน้ำออกให้หมด
 7.5  ข้อควรระวังและพึงปฏิบัติในการซ่อมหม้อน้ำ

•  7.5.1 พึงระลึกเสมอว่า หม้อน้ำมีพลังงานความร้อนและความดัน สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นก่อนซ่อมใหญ่ ต้องไม่ดำเนินการภายใต้อุณหภูมิและความดันที่ใช้งานอย่างเด็ดขาด

  7.5.2 พึงระลึกเสมอว่า ภายในเตาหรือหม้อน้ำ ถังพักไอ จะมีลักษณะเป็นที่อับอากาศ จึงต้องดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเต็มที่ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (Confined space) นอกจากนี้ ภายในเตาอาจมีเชื้อเพลิงตกค้างหรือมีไอเชื้อเพลิงสะสมอยู่ตามมุมอับ ซึ่งพร้อมที่จะติดไฟหรือระเบิด อันจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ จึงต้องทำการตรวจวัดเสียก่อน หากพบต้องทำการไล่ให้หมด
7.5.3   การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อการซ่อมแซมหม้อน้ำ เช่น ไฟแสงสว่างหรือเครื่องมือกลต่างๆ เพื่อความปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าดูดหรือลัดวงจร จึงแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ประเภทกระแสตรงแรงดันต่ำ  หากเป็นเครื่องมือกล ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์ที่ขับด้วยลม (Air tools) แทนขับด้วยไฟฟ้าจะดีที่สุด
7.5.4   ระยะเวลาในการตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อน้ำที่เหมาะสม จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ “อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท” ในการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมหม้อน้ำ จึงจำเป็นจะต้องวางแผนและกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบและบำรุงรักษา                  ทั้งโครงสร้างส่วนประกอบ และอุปกรณ์สำคัญต่างๆของหม้อน้ำ ดังตัวอย่างตารางที่ 3 แสดงระยะเวลาสำหรับตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อน้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ ดังนี้
7.5.5   สำหรับระยะเวลาในการตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ ของแต่ละโรงงานอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ คุณภาพของน้ำที่ใช้ป้อนเข้าหม้อน้ำ สภาพการใช้งาน ความดัน อุณหภูมิและชนิดเชื้อเพลิง เป็นต้น สำหรับหม้อน้ำที่มีคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิต ให้ถือปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเป็นสำคัญ
8. อันตรายของหม้อน้ำ
8.1 อุบัติเหตุเกี่ยวกับหม้อน้ำ ที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ น้ำแห้ง (Water level low-low) ซึ่งเป็นผลมาจากท่อไฟใหญ่หรือห้องเผาไหม้ได้รับความร้อนสูงเกินขีดจำกัด ทำให้เกิดการบวมหรือการฉีกขาด ในกรณีที่น้ำแห้งหม้อน้ำบางชนิดยังคงเดินเครื่องทำงานต่อไปได้ เช่น หม้อน้ำชนิดท่อน้ำ แต่สำหรับหม้อน้ำบางชนิด เช่น หม้อน้ำชนิดท่อไฟ เมื่อเกิดน้ำแห้งแล้ว อาจก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงและสร้างความเสียหายที่ใหญ่หลวงได้
การเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับหม้อน้ำในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1979 มีอุบัติเหตุเกี่ยวกับหม้อน้ำเกิดขึ้นกว่า 3,000 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 44 คน ทรัพย์สินเสียหายมากมาย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีลักษณะหรือสาเหตุที่สำคัญๆ ดังนี้
8.1.1 น้ำแห้ง (Water level low-low)
8.1.2 ท่อไฟเล็กฉีกขาด (Tube rupture)
8.1.3  ท่อไฟใหญ่ระเบิด (Furnace explosions)
8.1.4   เปลือกฉีกขาดหรือร้าว (Shell rupture or crack)
8.1.5 ผนังหน้า – หลังร้าว (End plate or tube sheet crack)
       8.1.6   การระเบิดของแก๊สในห้องเผาไหม้ (Gas explosion)
       8.1.7   ความบกพร่องของผู้ควบคุม (Human error)
       8.1.8   ลิ้นนิรภัยระบายไอไม่เพียงพอ (Inadequate safety valve)
8.2   สาเหตุที่หม้อน้ำระเบิด  จากข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุหม้อน้ำระเบิด ทำให้ ทราบว่าสาเหตุของหม้อน้ำระเบิดนั้น  อาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุประกอบกัน ดังนี้
  8.2.1 ความบกพร่องในการออกแบบ  การสร้าง การติดตั้ง และการซ่อมแซมหม้อน้ำ
  8.2.2   วัสดุที่นำมาใช้สร้างไม่เหมาะสม
  8.2.3   ใช้อุปกรณ์ต่างๆไม่ถูกต้อง ตามข้อกำหนดของอุปกรณ์นั้นๆ

ข้อพิจารณา
โดยทั่วไปในการติดตั้ง  หรือการบำรุงรักษาต้องทำตามกำหนดเวลาในคู่มือของเครื่องนั้นๆ  ผู้ควบคุมต้องได้รับการฝึกปฏิบัติไม่ใช่ช่างทั่วไป แต่จะต้องทำตามกำหนดเวลา Safety checks  และต้องรู้จักชื่อของอุปกรณ์

ข้อแนะนำของการผิดพลาด

1.ออกแบบผิดพลาด เช่น การก่อสร้างและการติดตั้ง
2.การปฏิบัติ เช่น พฤติกรรมของบุคคลและไม่มีความรู้เพียงพอในการปฏิบัติ
3.การสึกหรอ หรือการกัดกรอนของโลหะ
4.ระบบเครื่องกลล่ม หรือสวิตช์ หรือสวิตช์ safety ไม่ทำงาน
5.ระบบน้ำหรือการหมุนเวียนของวัสดุ
6.ผิดพลาดในการตรวจสอบ อุปกรณ์และความถี่
7.ความบกพร่องต่อระบบอุปกรณ์ 
8.บกพร่องต่อการวางแผน ป้องกัน บำรุงรักษา

การป้องกันไฟฟ้าช๊อต
•โดยทั่วไปอนุญาตให้ใช้ไฟฟ้าได้ 6  หรือ  12 โวล์ว รวมทั้งเครื่องมือในหม้อน้ำ เครื่องมือทุกชนิดจะต้องต่อสายดิน
•เมื่อทำความสะอาดหม้อน้ำต้องสวมใส PPE  หมวก safety แว่นตา เครื่องปิดจมูก และงานหนักต้องใช้ถุงมือหนัง
          ต้องมีผู้ควบคุมอยู่ข้างนอก
 

เรื่องที่  2  ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับถังความดัน

ถังความดัน เป็นภาชนะที่มีความดันอยู่ภายใน  ความดันเกิดจากสารหรือสิ่งต่างๆ ที่อัดกันแน่นอยู่ภายในถัง  หรือาจเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี ที่เกิดจากการต้มน้ำให้เดือดเป็นไอดังเช่นหม้อน้ำ ถังความดันที่ใช้ในประเทศไทย มีหลายชนิด เพื่อใช้บรรจุ  เช่น  ก๊าซหุ้มต้ม  ออกซิเจน  สารที่ใช้ดับเพลิง  สารทำความเย็น  สารเคมีต่างๆ  ฯลฯ
การตรวจสภาพถังความดัน  ถังความดัน เป็นภาชนะที่มีอายุการใช้งานเช่นเดียวกับภาชนะอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมอยู่เสมอ โดยหลักการแล้ว ถังความดันทั้งหลายจะต้องได้รับการตรวจสภาพและทดสอบความดันเป็นประจำโดยผู้ชำนาญการ  นอกจากนี้จะต้องมีการเก็บประวัติของถังความดันแต่ละลูกตั้งแต่เริ่มใช้งาน  อาจจะเก็บข้อมูลประวัติไว้ที่แผนกซ่อมบำรุงก็ได้ แต่ทั้งนี้ให้มีเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดของถังความดันนั้นจากผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบ และให้ระบุถึงจุดที่จะต้องตรวจสอบเป็นประจำรวมถึงการติดตั้งและการซ่อมแซม  เป็นต้น
ถังความดันที่บรรจุสารเคมีอันตรายต่างๆ  สารกัดกร่อน  สารพิษหรืออื่นๆ แล้วมีการใช้ในสถานประกอบกิจการนั้น ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงาน วิศวกรเคมีหรือนักเคมีและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบควรทราบรายละเอียดของถังความดันเหล่านั้น 
อย่างไรก็ตาม  การตรวจสภาพถังความดัน  ควรปฏิบัติตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  ได้แก่ มอก.151-258 กำหนดการตรวจสภาพถัง  การใช้และซ่อมบำรุงถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว  เครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิดผงเคมีแห้งตาม มอก. 332 - 2537 และ
ชนิดโฟมตาม มอก. 882 - 2532 เป็นต้น และเพื่อเป็นข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตรวจและการทดสอบที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจทำได้หลายวิธี คือ
1) การใช้รังสี
2) วิธีอุลตราโซนิค
3) วิธีอนุภาคแม่เหล็ก
4) วิธีใช้สารแทรกซึม
5) วิธีกระแสเอ็ดดี้
6) วิธีอัดน้ำทดสอบความดันที่ 1.5 เท่าของความดันใช้งานสูงสุด